Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • ‘ค่าเงินบาท’อ่อนค่า 36.29 บาท เฟดจ่อเร่งขึ้นดอกเบี้ยแรง ระวังผันผวนหนัก

‘ค่าเงินบาท’อ่อนค่า 36.29 บาท เฟดจ่อเร่งขึ้นดอกเบี้ยแรง ระวังผันผวนหนัก

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้(29 ส.ค.) ที่ระดับ 36.29 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง” จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 36.03 บาทต่อดอลลาร์ โดยมองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 35.80-36.40 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.20-36.40 บาทต่อดอลลาร์

ทั้งนี้สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดกลับมาปิดรับความเสี่ยงอย่างรุนแรง หลังประธานเฟดส่งสัญญาณเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ยต่อ เพื่อคุมปัญหาเงินเฟ้อให้สำเร็จ ในสัปดาห์นี้ มองว่า ตลาดจะรอจับตาตัวแปรสำคัญต่อทิศทางนโยบายการเงินของเฟด อย่าง ข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐ ส่วน อัตราเงินเฟ้อยูโรโซนก็อาจสะท้อนแนวโน้มนโยบายการเงินธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้เช่นกัน

โดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจมีดังนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ฝั่งสหรัฐ – ไฮไลต์สำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามอย่างใกล้ชิด คือ รายงานข้อมูลตลาดแรงงานซึ่งอาจเป็นตัวแปรสำคัญต่อทิศทางนโยบายการเงินของเฟด โดยตลาดประเมินว่า ตลาดแรงงานสหรัฐ โดยรวมยังคงมีความตึงตัวและแข็งแกร่งอยู่ แม้ว่ายอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เดือนสิงหาคม อาจเพิ่มขึ้น 3 แสนราย ลดลงจากที่เพิ่มขึ้นกว่า 5.3 แสนรายในเดือนก่อน ทำให้อัตราว่างงานทรงตัวที่ระดับ 3.5% แต่โดยรวมจำนวนตำแหน่งงานเปิดรับยังคงสูงถึง 1.8 เท่า ของจำนวนผู้ว่างงาน ซึ่งภาวะตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่งและตึงตัวดังกล่าว จะเพิ่มโอกาสที่เฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเดือนกันยายน

ทั้งนี้ ตลาดจะรอติดตามมุมมองของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อสหรัฐ เพื่อประเมินแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ส่วนในด้านข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญอื่นๆ นั้น ตลาดประเมินว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดย Conference Board อาจปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับ 97.7 จุด ในเดือนสิงหาคม ตามการปรับตัวลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งช่วยหนุนให้ผู้บริโภคสหรัฐ กล้าที่จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตอุตสาหกรรมสหรัฐ อาจขยายตัวในอัตราชะลอลง ชี้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรม (ISM Manufacturing PMI) ในเดือนสิงหาคม ที่อาจปรับตัวลงสู่ระดับ 52 จุด (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว) ตามการชะลอตัวลงเศรษฐกิจโลกและปัญหาต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูง

ฝั่งยุโรป – ตลาดคาดว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปอาจมีแนวโน้มชะลอลงมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากยอดค้าปลีก (Retail Sales) ของเยอรมนีในเดือนกรกฎาคมที่อาจหดตัว -0.1% จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจยุโรปจะชะลอตัวมากขึ้น ทว่าปัญหาสำคัญของฝั่งยุโรป คือ ภาวะเงินเฟ้อสูง ซึ่งตลาดมองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป CPI ของยูโรโซนอาจพุ่งขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 9.0% ในเดือนสิงหาคม และอาจทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจเดินหน้าเร่งขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกันยายนได้

ฝั่งเอเชีย – ตลาดมองว่า เศรษฐกิจเวียดนามยังคงเดินหน้าฟื้นตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยยอดค้าปลีกเดือนสิงหาคมอาจพุ่งขึ้นกว่า 60%y/y ส่วนยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) อาจโตกว่า +20%y/y สอดคล้องกับยอดการส่งออกที่จะขยายตัวต่อเนื่องราว +19%y/y อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและปัญหาน้ำท่วมในช่วงต้นเดือนสิงหาคม จะหนุนให้อัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมพุ่งขึ้นแตะระดับ 3.6%

ส่วนในฝั่งจีน สารพัดปัญหาที่รุมเร้าการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน อาทิ ปัญหาหนี้ภาคอสังหาฯ วิกฤติภัยแล้ง รวมถึงการระบาดของ COVID-19 จะกดดันให้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของจีนอาจหดตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนี PMI ภาคการผลิตในเดือนสิงหาคมที่จะลดลงสู่ระดับ 48.6 จุด ส่วนภาคการบริการก็อาจขยายตัวในอัตราชะลอลง หลังการระบาดของ COVID-19 นั้นเกิดขึ้นในหลายเมืองท่องเที่ยว โดยดัชนี PMI ภาคการบริการอาจลดลงสู่ระดับ 52.6 จุด

ฝั่งไทย – ตลาดประเมินว่า แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ได้แรงหนุนจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ดีกว่าคาด จะช่วยหนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Business Sentiment) เดือนสิงหาคมปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับ 50 จุดได้ อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยอาจขยายตัวในอัตราชะลอลงในเดือนสิงหาคม ท่ามกลางภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะสะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตที่จะลดลงสู่ระดับ 52 จุด

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า เงินบาทยังมีความเสี่ยงที่จะอ่อนค่า ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ทั้งนี้ ควรติดตามทิศทางฟันด์โฟลว์จากนักลงทุนต่างชาติ โดยเราคาดว่า หากตลาดหุ้นไทยย่อตัวลงตามตลาดหุ้นสหรัฐ ในสัปดาห์หน้า (แม้จะปรับตัวลงไม่รุนแรงเท่า) แต่อาจเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติทยอยซื้อหุ้นไทยต่อได้

ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น มุมมองของตลาดที่คาดว่า เฟดอาจเดินหน้าเร่งขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเดือนกันยายน จะเป็นปัจจัยหนุนเงินดอลลาร์ในช่วงนี้ และเงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นต่อได้ หากข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐ ออกมาดีกว่าคาดไปมาก อย่างไรก็ดี แนวโน้ม ECB เร่งขึ้นดอกเบี้ย ก็อาจช่วยพยุงค่าเงินยูโรและชะลอการแข็งค่าหนักของเงินดอลลาร์ได้เช่นกัน