ค่าเงินบาทแข็งค่ามาก 33.94 บาท หลังยอดเปิดรับสมัครงานสหรัฐแย่กว่าคาด
น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทวันนี้ 5 เม.ย. 66 แข็งค่าผ่านแนว 34.00 มาเคลื่อนไหวที่ระดับ 33.94-33.96 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงเช้าวันนี้ (09.25 น.) เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 34.21 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ ทั้งเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักและสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
หลังจากที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ยังมีสัญญาณอ่อนแอ ซึ่งยิ่งกระตุ้นการคาดการณ์ของตลาดว่า เฟดคงกำลังใกล้ที่จะยุติวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว ทั้งนี้ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานเดือน ก.พ. ของสหรัฐ ล่าสุด ปรับลดลง 632,000 ตำแหน่ง ไปอยู่ที่ 9.9 ล้านตำแหน่ง (ต่ำว่าตลาดคาดที่ 10.4 ล้านตำแหน่ง และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ พ.ค. 2564) ขณะที่ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือน ก.พ. หดตัวลง 0.7% MoM (ตลาดคาดที่ -0.5% MoM)
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 33.90-34.15 บาทต่อดอลลาร์ โดยตลาดรอติดตามตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. ของไทย ทิศทางเงินทุนต่างชาติและสกุลเงินเอเชีย ดัชนี PMI ภาคบริการเดือน มี.ค. ของยูโรโซนและอังกฤษ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน ดัชนี ISM และ PMI ภาคบริการเดือน มี.ค.
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่าว่า บรรยากาศในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐ พลิกกลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) โดยดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.58% หลังผู้เล่นในตลาดต่างกังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐ มีแนวโน้มชะลอตัวลงชัดเจนและเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) มากขึ้น จากรายงานยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (JOLTs Job Openings) ล่าสุด ที่ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 9.93 ล้านตำแหน่ง แย่กว่าที่ตลาดคาดไว้มาก
นอกจากนี้ ยอดคำสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงาน (Factory Order) ก็ลดลงต่อเนื่อง -0.7%m/m แย่กว่าคาด ทั้งนี้ ความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ ได้ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงมองว่า เฟดจะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ก่อนที่จะทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งมุมมองดังกล่าวได้ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ปรับตัวลงอีกครั้งสู่ระดับ 3.35%
ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวลดลงต่อเล็กน้อย -0.08% กดดันโดยแรงขายทำกำไรหุ้นกลุ่มพลังงาน (Equinor -2.1%, Shell -1.9%) หลังราคาน้ำมันดิบมีจังหวะย่อตัวลงมาบ้าง ตามความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยุโรป ยังพอได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนม (Hermes +1.8%, LVMH +0.8%) ซึ่งยังคงได้รับอานิสงส์จากแนวโน้ม (และความคาดหวัง) การฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องของเศรษฐกิจจีน
ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ได้ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 101.5 จุด (ใกล้จุดต่ำสุดของปีนี้ แถว 100.8 จุด ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์) หลังผู้เล่นในตลาดยังคงทยอยลดสถานะถือครองเงินดอลลาร์ลง ตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ยังคงเชื่อว่า เฟดจะไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องได้ หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ล่าสุดในสัปดาห์นี้ ล้วนออกมาแย่กว่าคาด
ส่วนในฝั่งราคาทองคำ ความต้องการถือทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย จากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ เสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยที่สูงขึ้น รวมถึงการปรับตัวลดลงของทั้งบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐและเงินดอลลาร์ ได้ช่วยหนุนให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย.) สามารถปรับตัวขึ้นทะลุโซนแนวต้าน 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และทรงตัวแถวระดับ 2,039 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ซึ่งคาดว่าการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำดังกล่าว อาจหนุนให้ผู้เล่นบางส่วนทยอยขายทำกำไรทองคำบ้าง และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ ผ่านรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (ISM Services PMI) เดือนมีนาคม โดยตลาดมองว่า ภาคการบริการจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ชี้จากดัชนี ISM PMI ภาคการบริการ ที่อาจอยู่ที่ระดับ 54.5 จุด (ดัชนีมากกว่า 0 หมายถึง ภาวะขยายตัว) นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานข้อมูลยอดการจ้างงานภาคเอกชน โดย ADP ซึ่งอาจใช้เป็นตัวชี้วัดถึงแนวโน้มข้อมูลยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ในวันศุกร์ นี้ได้
ทั้งนี้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ออกมาดีกว่าคาด ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มกลับมาคาดหวังว่า เฟดยังมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ หลังจากที่ล่าสุด ผู้เล่นในตลาดยังคงมุมมองเดิมว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายแถว 5.00% ก่อนที่จะทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในช่วงครึ่งหลังของปี หลังรายงานยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (JOLTs Job Openings) ออกมาแย่กว่าคาดไปมาก
ส่วนในฝั่งเอเชีย ตลาดมองว่า ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย +0.25% สู่ระดับ 5.00% เพื่อให้มั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะสามารถชะลอลงกลับสู่เป้าหมายได้ และในฝั่งไทย จากภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่ดีขึ้น หนุนโดยการบริโภคภาคเอกชน ทำให้เราประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI เดือนมีนาคม อาจทรงตัวที่ระดับ 1.9% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป CPI อาจชะลอลงสู่ระดับ 3.20% (+0.10%m/m) ตามการปรับตัวลงของราคาสินค้าพลังงานและระดับฐานราคาที่สูงในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ แม้อัตราเงินเฟ้อจะชะลอลง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงอยู่ ทำให้เรามองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก +0.25% สู่ระดับ 2.00% ได้ในการประชุมครั้งถัดไป (เดือนพฤษภาคม)
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท ในช่วงคืนที่ผ่านมา ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นแรง ตามการปรับตัวลงของเงินดอลลาร์และการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของราคาทองคำ (ทะลุโซนแนวต้านแถว 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้สำเร็จ)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เราประเมินว่า ในระหว่างวันนี้ การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงคืนที่ผ่านมานั้น อาจเริ่มชะลอลงได้บ้าง เนื่องจากผู้เล่นในตลาดบางส่วนอาจมีการขายทำกำไรสถานะ Short USDTHB บ้าง นอกจากนี้ ในฝั่งผู้ประกอบการ อย่าง ผู้นำเข้าก็อาจรอจังหวะเงินบาทแข็งค่าลงมาแถว 34.00 บาทต่อดอลลาร์ ในการเข้าซื้อเงินดอลลาร์บ้างได้เช่นกัน และควรจับตาฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะฟันด์โฟลว์ในฝั่งหุ้น ว่านักลงทุนต่างชาติจะเดินหน้าขายหุ้นไทยเพิ่มเติมจากวันก่อนหน้าหรือไม่ (ส่วนหนึ่งอาจขายทำกำไรเพิ่มเติม หลังเงินบาทแข็งค่าขึ้นทดสอบโซนแนวรับ) เพราะหากนักลงทุนต่างชาติยังไม่กลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย ตามที่เราเคยคาดการณ์ไว้ เงินบาทก็อาจขาดปัจจัยหนุนฝั่งแข็งค่าไปบ้าง
ทั้งนี้ แม้นักลงทุนต่างชาติอาจยังไม่รีบกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทย แต่เงินบาทก็ยังพอได้แรงหนุนฝั่งแข็งค่าจากโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ ทำให้เราประเมินว่า เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 33.85-34.10 บาทต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ดี ควรระวังความผันผวนในตลาดการเงิน ในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐ อาทิ ดัชนี ISM PMI ภาคการบริการ รวมถึง ยอดการจ้างงานภาคเอกชนโดย ADP เพราะหาก รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ยังคงสดใส เงินดอลลาร์ก็มีโอกาสรีบาวด์แข็งค่าขึ้นมาได้ไม่ยาก แต่หากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ในวันนี้ยังคงออกมาแย่กว่าคาด เช่นเดียวกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจก่อนหน้า เงินดอลลาร์ก็อาจปรับตัวอ่อนค่าลงต่อ ทดสอบจุดต่ำสุดของปีนี้ได้เช่นกัน ซึ่งในกรณีนี้นั้น คาดว่า เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นใกล้ระดับ 33.80 บาทต่อดอลลาร์ (ราคาทองคำอาจปรับตัวสูงขึ้นใกล้ 2,050-2,060 ดอลลาร์ต่อออนซ์)