ถอดรหัสตั้งรัฐบาล! เกมบังคับเลือก "ปชป.-พรรค 2 ลุง"
จากกรณีพรรคเพื่อไทย ร่วมกับพรรคภูมิใจไทย แถลงข่าวจับมือตั้งรัฐบาลร่วมกัน ภายใต้การเป็นแกนนำของพรรคเพื่อไทย โดยมี ส.ส.จำนวน 212 คน เป็นสารตั้งต้นในการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้ และเตรียมเทียบเชิญพรรคการเมืองอื่นๆ เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลนั้น
ซึ่งจุดนนี้สร้างความสงสัยให้คนจำนวนไม่น้อยถึงพรรคการเมืองในสมการจัดตั้งรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในครั้งนี้ว่า หลังจากนี้นอกจากพรรคภูมิใจไทยแล้ว จะมีพรรคไหนตบเท้าเข้าร่วมรัฐบาลเพิ่มเติมบ้าง
“เพื่อไทย” จับมือ “ภูมิใจไทย” ตั้งรัฐบาล ยันรวมเสียง สส.ได้เกินกึ่งหนึ่งแล้ว
หวานชื่น! “เพื่อไทย-ภูมิใจไทย” ย้ำไม่มี “พรรค 2 ลุง” ในสมการตั้งรัฐบาล
เปิดรายชื่อ 314 สส. นั่งร้านรัฐบาลเพื่อไทย-11พรรคการเมือง
แม้จนถึงขณะนี้แกนนำพรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย จะยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการเทียบเชิญพรรคการเมืองลำดับต่อไป ที่จะเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลก็ตามที
แต่หาก “ถอดรหัส” จากคำแถลงร่วมกันของทั้ง 2 พรรค รวมทั้งการตอบทำถามในช่วงท้ายการแถลง จะเห็นได้ถึงเค้าลางการดีไซน์รัฐบาลของพรรคเพื่อไทยได้ในระดับหนึ่ง
“ถอดรหัสจุดแรก” นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
ประกาศ 3 เงื่อนในการร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยในข้อ 3. ต้องไม่มีพรรคก้าวไกลเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งก็เป็นไปตามท่าทีของพรรคเพื่อไทยประกาศออกมาก่อนหน้านี้ในการแยกทางจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล และฉีก MOU ที่เคยทำร่วมกัน 8 พรรค
จุดนี้แปลความได้ว่า สมการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ไม่มีพรรคก้าวไกลรวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน
“ถอดรหัสจุดที่สอง” นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
พูดชัดเจนว่า “พรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทยจะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยการสนับสนุนจากพรรคการเมืองต่างๆ และ สส.จากหลายพรรคการเมือง ซึ่งขณะนี้มีเสียงเกินกึ่งหนึ่งแล้ว”
จุดนี้แปลความได้ว่า นอกจากเสียงของพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทย จำนวน 212 เสียง ยังมีเสียง ส.ส.จากพรรคการเมืองอื่น ไม่น้อยกว่า 37 เสียง ถึงจะได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร (เสียงกึ่งหนึ่งคือ 249 เสียง) ตามนัยยะที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทยพูด
“ถอดรหัสจุดที่สาม” นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ตอบคำถามสื่อมวลชนถึงการร่วมรัฐบาลกับ “พรรค 2 ลุง” แบบชัดๆ ว่า
“ในแถลงการณ์บอกชัดเจนว่าเราไม่มี 2 ลุง แต่เราไม่ปฏิเสธเงื่อนไขว่าหากจะมี สส. หรือ สว. ลักษณะเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี”
จุดนี้แปลความได้ว่า นอกจากจะไม่มีพรรคก้าวไกลในสมการตั้งรัฐบาลแล้ว ยังไม่มี พรรคพลังประชารัฐ (พรรคลุงป้อม) และ พรรครวมไทยสร้างชาติ (พรรคลุงตู่) รวมอยู่ในสมการตั้งรัฐบาลด้วยเช่นกัน แต่อาจจะมีการมาร่วมแบบรายบุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้
“ถอดรหัสจุดที่สี่” นายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ตอบคำถามถึงการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคภูมิใจไทยและการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนว่า
“ทุกพรรคการเมืองล้วนมีฐานสนับสนุนจากประชาชนทั้งสิ้น ซึ่งในการจัดตั้งรัฐบาลในภาวะวิกฤติแบบนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการรวบรวมส่วนต่างๆ ให้มากที่สุด ทั้งนี้ต้องคำนึงอารมณ์ความรู้สึกประชาชนไปด้วย ซึ่งในขณะนี้เรากำลังทำอยู่บนเงื่อนไขที่ประชาชนต้องการ และสภาพความเป็นจริงที่การเมืองไทยเป็นอยู่”
จุดนี้แปลความได้ว่า พรรคเพื่อไทยพร้อมร่วมกับทุกพรรคการเมือง (ยกเว้นพรรคที่เป็นเงื่อนไขในจุดที่ 1 และจุดที่ 4) เพื่อรวบรวมเสียงให้มากที่สุดในการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้หากสรุปรวมการ “ถอดรหัส” ทั้ง 4 จุด จะเห็นได้ชัดว่า ดีไซน์จัดตั้งรัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ จะไม่ 3 พรรครวมอยู่ด้วย คือ พรรคก้าวไกล พรรคพลังประชารัฐ พรรครวมไทยสร้างชาติ หรือสูตร “ไม่มีลุงไม่มีก้าวไกล” และขณะนี้ยังมีเสียงจากพรรคการเมืองอื่นเตรียมร่วมจัดตั้งรัฐบาลเกิน 37 เสียงแล้ว และพรรคที่มีความเป็นไปได้คือพรรคที่นอกเหนือจาก 3 พรรคข้างต้น
เมื่อนำดีไซน์รัฐบาลดังกล่าว มาเทียบเคียงกับตัวเลข สส.ของแต่ละพรรคการเมืองในสภา จะเห็นได้ชัดว่า ตอนนี้พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล มี 212 เสียง ขณะที่ 3 พรรคที่ถูกตั้งเงื่อนไขกีดกันออกจากสมการจัดตั้งรัฐบาล มีเสียงรวมกัน 225 เสียง (ก้าวไกล 149 เสียง พลังประชารัฐ 40 เสียง รวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง)
ดังนั้นเสียง ส.ส.ในสภาที่เหลือนอกเหนือจากเสียงทั้ง 2 กลุ่มจะมีจำนวนรวม 61 เสียง จาก 13 พรรคการเมือง ประกอบด้วย
พรรคประชาธิปัตย์ 25 เสียง, พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง, พรรคประชาชาติ 9 เสียง, พรรคไทยสร้างไทย 6 เสียง, พรรคชาติพัฒนากล้า 2 เสียง, พรรคเพื่อไทรวมพลัง 2 เสียง, พรรคเสรีรวมไทย 1 เสียง, พรรคเป็นธรรม 1 เสียง, พรรคพลังสังคมใหม่ 1 เสียง, พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง, พรรคครูไทยเพื่อประชาชน 1 เสียง, พรรคใหม่ 1 เสียง และ พรรคพลังท้องที่ไทย 1 เสียง
โดยจากจำนวน 13 พรรคดังกล่าว พรรคไทยสร้างไทย (6 เสียง) และพรรคเป็นธรรม (1 เสียง) ที่ประกาศตัวไม่ข้ามขั้ว ดังนั้นเท่ากับว่าตัวแปรที่เหลือในการจัดตั้งรัฐบาลจึงเหลือเพียง 11พรรค รวม 54 เสียงเท่านั้น
ล่าสุด มีอีก 5 พรรคการเมืองแถลงข่าวร่วมจัดตั้งรัฐบาล ประกอบด้วย พรรคประชาชาติ พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคเสรีรวมไทย พรรคพลังสังคมใหม่ พรรคท้องที่ไทย และ พรรคเพื่อไทรวมพลัง ขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนาเตรียมแถลงข่าวเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลในวันที่ 9 สิงหาคมนี้ ซึ่งคำนวนจำนวนพรรคร่วมรัฐบาลตามความชัดเจนล่าสุด จะเท่ากับว่ามี 238 เสียงในสภา (ยังไม่ถึงเสียงเกินกึ่งหนึ่ง)
ดังนั้นโจทย์สำคัญของพรรคเพื่อไทยที่จะต้องตัดสินใจเลือกหากจะให้การจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้สำเร็จ คือการเลือกดึงพรรคประชาธิปัตย์(25 เสียง) ซึ่งถือเป็นพรรคที่ต่างกันสุดขั้วเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาล ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่มี “พรรค 2 ลุง” โดยให้พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ไปเป็นพรรคฝ่ายค้าน
หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ เปิดทางลดเงื่อนไขไม่จับมือ “พรรค 2 ลุง” ลดลงจากเดิม โดยชูเป้าหมายจัดตั้งรัฐบาลสลายขั้วความขัดแย้ง เพื่อทางออกประเทศ โดยผลักพรรคประชาธิปัตย์ไปเป็นฝ่ายค้านแคน
และทางเลือกที่อาจจะฟังดูพิสดาร คือพรรคเพื่อไทย รวมเสียงทั้งจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ แล้วโดดเดี่ยว พรรคก้าวไกล พรรคไทยสร้างไทย พรรคเป็นธรรม เป็นฝ่ายค้าน
ซึ่งหลังจากนี้จะต้องรอดูว่าพรรคเพื่อไทยจะเลือกดีไซน์จัดตั้งรัฐบาลรูปแบบไหน และสุดท้ายแล้วจะได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภาตามที่แกนนำพรรคเพื่อไทยประกาศไว้หรือไม่ ที่สำคัญจะเป็นเงื่อนไขที่ดีพอจูงใจให้ สว.ยกมือโหวตแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยเกิน 375 เสียงได้หรือไม่!