"ยูเครน" โจมตีหนัก! ทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศในไครเมียสำเร็จ
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมายูเครนโจมตีไครเมียอย่างหนัก การโจมตีที่มุ่งเป้าไปที่โครงสร้างพื้นฐานทางการทหาร
เมื่อคืนที่ผ่านมา ผู้นำยูเครนได้ออกมาประกาศยกย่องหน่วยปฏิการพิเศษของยูเครนในการทำภารกิจดังกล่าว ในระหว่างการแถลงสถานการณ์ประจำวันเมื่อคืนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครนได้กล่าวขอบคุณชุดปฎิบัติการพิเศษ ที่ประกอบไปด้วยหน่วยข่าวกรองและกำลังพลจากกองทัพเรือที่สามารถทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียในไครเมียได้ โดยระบุว่านี่คือชัยชนะ
ยูเครนยิงขีปนาวุธ โจมตีฐานทัพเรือ-ท่าเรือในไครเมีย
"ปูติน"ชี้ ยูเครนเสียทหาร 7 หมื่นนายในการรุกกลับ
ยูเครนยึดคืนแท่นขุดน้ำมันทะเลดำ ปะทะเดือดเครื่องบินรบรัสเซีย
การโจมตีระบบป้องกันภัยทางอากาศครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อวานช่วงเช้ามืดตามเวลาท้องถิ่น หน่วยข่าวกรองยูเครนหรือ SBU ระบุว่า ที่ตั้งของระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ทำลายคือ บริเวณใกล้เมืองเยฟปาโทเรีย เมืองทางตะวันตกบนคาบสมุทรไครเมียคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ข้อมูลจากบีบีซีระบุว่า ชุดปฏิบัติการพิเศษใช้โดรนนำร่องเข้าไปทำลายเรดาห์ของระบบป้องกันภัยทางอากาศก่อน จากนั้นหน่วยกองพลเรือจึงยิงขีปนาวุธร่อนตามเข้าไปทำลายระบบยิง
อย่างไรก็ดี นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการโจมตีไครเมียเท่านั้น เมื่อวานนี้ ทางการรัสเซียออกมาอ้างว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศสามารถสกัดโดรนที่ร่อนมาโจมตีไครเมียได้ทั้งหมด 11 ลำ
ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา การโจมตีในไครเมียเกิดบ่อยขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแคว้นไครเมียคือหนึ่งในจุดร้อนที่สุดและเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามในยูเครนที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้
ไครเมีย จุดปะทะสำคัญของสงครามยูเครน
เหตุการณ์เริ่มต้นในปี 2014 ชาวยูเครนนับหมื่นนับแสนออกมาขับไล่ประธานาธิบดีวิกเตอร์ ยานูโควิช ผู้นำของยูเครนในขณะนั้น ที่ตัดสินใจคว่ำข้อเสนอการค้ากับสหภาพยุโรปเพื่อหันไปรับเงินสนับสนุนจากรัสเซียแทน การประท้วงที่รู้จักกันในชื่อยูโรไมดาน ได้ลุกลามบานปลายจนกลายเป็นเหตุนองเลือด และทำให้ผู้นำสายโปรรัสเซียอย่างยานูโควิชถูกถอดถอนจากตำแหน่งและลี้ภัยไปรัสเซีย
ทันทีที่ยานูโควิชหนีไปรัสเซีย ประธานาธิบดีปูตินส่งทหารยึดแคว้นไครเมีย ก่อนที่ในวันที่ 18 มีนาคมปีเดียวกัน รัสเซียจัดให้มีการลงประชามติผนวกให้ไครเมียมาเป็นส่วนหนึ่งของตนเองในอดีตไครเมียเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย จนกระทั่งเมื่อปี 1954 นิกิตา ครุชชอฟ ผู้นำของสหภาพโซเวียตในขณะนั้นได้ยกให้ดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐในบริเวณอย่างยูเครน โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเชื่อมสัมพันธ์ความเป็นพี่น้องระหว่างชาวรัสเซียและชาวยูเครน
ในทางกฎหมาย ไครเมียจึงเป็นส่วนหนึ่งของประเทศยูเครนและประชาคมโลกก็ได้ให้การรับรองสิทธิของยูเครนเหนือดินแดนดังกล่าว ดังนั้นการผนวกแคว้นไครเมียจึงเท่ากับว่ารัสเซียได้ละเมิดอำนาจอธิปไตยของยูเครน
อย่างไรก็ตามในมุมมองของประธานาธิบดีปูตินและชาวรัสเซียจำนวนมาก การนำแคว้นไครเมียกลับมาอยู่กับรัสเซียเป็นความชอบธรรมทางประวัติศาสตร์
นับตั้งแต่รัสเซียบุกยูเครนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ประธานาธิบดีเซเลนสกีเคยประกาศหลายครั้งว่าจะเอาไครเมียคืนมาจากรัสเซียให้ได้ โดยเขาระบุว่า สงครามในคราวนี้มีจุดเริ่มต้นจากไครเมียและต้องจบลงที่ไครเมีย
มีความพยายามหลายครั้งจากยูเครนในการเจาะเข้าไปไครเมีย โดยใช้การโจมตีจากระยะไกลหรือการใช้โดรน การโจมตีครั้งที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีการโจมตีสะพานเคียร์ช สะพานหลักที่เชื่อมไครเมียกับรัสเซียแผ่นดินใหญ่จนเสียหายหนัก
รัสเซียต้องใช้เวลาในการซ่อมแซมอยู่หลายเดือนก่อนที่จะเปิดใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบเมื่อวานนี้ นอกจากมุ่งโจมตีสะพาน ยูเครนยังมีความพยายามการส่งโดรนเข้าโจมตีฐานทัพรัสเซียในเมืองเซวัสโตปอล แต่ไม่เคยสร้างความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญให้กับรัสเซียได้
จนกระทั่งปลายเดือนสิงหาคมหรือเมื่อประมาณ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ยูเครนปรับยุทธศาสตร์ในการเอาไครเมียคืน จากที่เคยโจมตีจะระยะไกล ยูเครนใช้วิธีส่งกำลังเข้าไปเสริมปฏิบัติการในพื้นที่ด้วย นี่คือภาพของหน่วยปฏิบัติการพิเศษของยูเครนที่กำลังนั่งเรือฝ่าความมืดมุ่งหน้าเข้าไปไครเมีย กองทัพยูเครนนำภาพนี้มาเผยแพร่เมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา
การเข้าถึงภาคพื้นดินได้อาจมีส่วนช่วยให้การโจมตีทางอากาศจากระยะไกลได้ผลมากขึ้น เพราะหลังจากนั้นก็มีภาพและข่าวของความเสียหายใหญ่ในไครเมียออกมา
วันพุธที่ผ่านมา มีรายงานว่าอู่ต่อเรือในเมืองเซวัสโตปอลเกิดเพลิงไหม้จากการโจมตีของยูเครน ส่งผลให้เรือรบที่กำลังซ่อมอยู่ในอู่ต่อเรือได้รับความเสียหาย 2 ลำ และมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 24 คน เซวัสโตปอลเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคไครเมีย ที่นี่เป็นที่ตั้งอู่ต่อเรือและท่าเรือหลักของกองเรือทะเลดำหรือ Black Sea Fleet หนึ่งในกองเรือสำคัญของกองทัพเรือรัสเซีย
ภาพถ่ายดาวเทียมจากบริษัทดาวเทียม BlackSea แสดงให้เห็นถึงภาพของอู่ต่อเรือดังกล่าวก่อนและหลังการถูกโจมตี 1 วันบริษัท BlackSea ได้โพสต์ข้องความผ่านทางโซเซียลมีเดีย X ว่า เรือรบที่ได้รับความเสียหายได้แก่ เรือยกพลขนาดใหญ่ “มินสก์ โปรเจกต์ 775” และเรือดำน้ำชั้น กิโล “รอสตอฟ-ออน-ดอน”
ในวันนั้นกระทรวงกลาโหมรัสเซียยืนยันว่าเรือรบทั้ง 2 ลำนี้ยังอยู่ในสภาพที่ซ่อมแซมได้ และจะกลับมาปฏิบัติภารกิจได้ตามปกติ รัสเซียอ้างด้วยว่า สามารถจำกัดวงความเสียหายได้เนื่องจากมีระบบป้องกันภัยทางอากาศ
อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อมูลยืนยันว่าในขณะนี้ระบบป้องกันภัยทางอากาศที่เคยปกป้องโครงสร้างพื้นฐานทางการทหารในไครเมียยังสามารถใช้การได้ตามปกติหรือไม่ หลังจากเหตุการณ์การโจมตีเมื่อวานนี้แต่ประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครนออกมาประกาศอ้างว่า หน่วยปฏิบัติการพิเศษของยูเครนสามารถทำลายได้เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี จะเห็นว่าเป้าหมายที่กองทัพยูเครนมุ่งโจมตีในไครเมียเป็นเป้าหมายทางการทหารทั้งหมด เพราะอะไร
ไครเมียในฐานะจุดยุทธศาสตร์ของปฏิบัติการโต้กลับ
มีการตั้งข้อสังเกตว่าการมุ่งโจมตีเป้าหมายทางการทหารในไครเมียเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นฐานทัพอากาศ กองเรือ ระบบป้องกันภัยทางอากาศ หรือเส้นทางต่างๆ คือส่วนหนึ่งของปฏิบัติการโต้กลับที่กำลังดำเนินอยู่เนื่องจากรัสเซียใช้พื้นที่ยึดครองในไครเมีย โดยเฉพาะทางเหนือของคาบสมุทรที่อยู่ใกล้กับแนวรบในการสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์
นอกจากนี้ ไครเมียยังเป็นทางผ่านในการขนส่งเสบียงทางการทหารโดยสะพานเคียร์ชที่เชื่อมระหว่างรัสเซียแผ่นดินใหญ่และไครเมียคือเส้นทางที่ช่วยให้กองทัพรัสเซียสามารถส่งเสบียงไปยังดินแดนที่ถูกยึดครองได้ รวมถึงพื้นที่ทางตอนใต้ เช่น
แคว้นเคอร์ซตอนตะวันตกและพื้นที่บางส่วนของแคว้นซาโปริซเซีย ผ่านการใช้สะพานส่วนที่เป็นถนนและส่วนที่เป็นรางรถไฟ
ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งเป็นไปเพื่อโจมตีกองเรือทะเลดำที่ประจำการอยู่ที่เมืองเซวัสโตปอล เพราะเป็นกองเรือที่รัสเซียใช้เป็นฐานยิงขีปนาวุธโจมตีบนแผ่นดินยูเครน โดยเฉพาะการโจมตีท่าเรือบบริเวณทะเลดำในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาทั้งหมดจึงเป็นความพยายามในการตัดกำลังการสู้รบของกองทัพรัสเซีย
ในวันที่การสู้รบในไครเมียเริ่มดุเดือด อีกด้านหนึ่ง พันธมิตรของยูเครนอย่างสหรัฐฯ ได้พยายามกดดันรัสเซียอย่างต่อเนื่อง ด้วยการประกาศลงโทษบุคคลหรือบริษัทที่ส่งสินค้าด้านเทคโนโลยีให้กับรัสเซีย
สหรัฐฯ ลงโทษคว่ำบาตร 150 บริษัทและบุคคลที่หนุนรัสเซีย
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า สหรัฐฯ กำลังจะประกาศมาตรการชุดใหม่เพื่อลงโทษธุรกิจและบุคคลกว่า 150 รายในรัสเซีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจอร์เจีย ที่ยังทำธุรกิจหรือค้าขายกับรัสเซีย ซึ่งถือเป็นความพยายามหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตร
การประกาศมาตรการลงโทษครั้งนี้ มุ่งจัดการกับกลุ่มที่ยังขายเทคโนโลยีตะวันตกให้แก่รัสเซีย โดยเทคโนโลยีเหล่านั้นคือสิ่งที่ทำให้รัสเซียยังสามารถผลิตอาวุธต่อได้
ในบรรดาบริษัทที่เป็นเป้าหมายหลักของการถูกลงโทษคือ บริษัทแห่งหนึ่งของตุรกีที่ช่วยซ่อมแซมเรือให้กับบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งมีความเชื่อมโยงกับกระทรวงกลาโหมรัสเซีย รวมถึงเครือข่ายที่มีที่ตั้งในฟินแลนด์ที่จัดส่งอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ให้รัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรรีลิเทียม หรือกล้องสำหรับโดรน
ก่อนหน้าที่จะเกิดสงคราม รัสเซียนำเข้าสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศที่เป็นสมาชิก G7 ถึงกว่าร้อยละ 90 แต่หลังชาติตะวันตกประกาศมาตรการคว่ำบาตร ตัวเลขการนำเข้าลงมาเหลือที่ร้อยละ 30 ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตของรัสเซียรวมถึงการผลิตอาวุธอย่างไรก็ตาม รัสเซียได้ใช้วิธีการซื้อสินค้าจากบุคคลหรือบริษัทที่พยายามหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรอยู่ และด้วยเงินสำรองคงคลังที่ยังมีปริมาณสูง ทำให้รัสเซียยังทำเช่นนั้นได้
ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ทำการตรวจสอบบุคคลหรือบริษัทเหล่านั้น จนเป็นที่มาของการประกาศมาตรการลงโทษล่าสุด นี่คือการประกาศมาตรการลงโทษครั้งใหญ่ที่สุดที่สหรัฐฯ ประกาศนับตั้งแต่รัสเซียเข้ารุกรานยูเครนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ปีที่แล้ว เมื่อคิดรวมกับมาตรการที่เคยประกาศมาก่อนหน้านั้น รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ดำเนินการลงโทษบุคคลและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซียไปแล้วถึง 3,000 ราย
ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ถือเป็นพันธมิตรลำดับต้นๆ ที่ให้ความช่วยเหลือยูเครนมาโดยตลอด และอาจมีแนวโน้มที่สหรัฐฯ จะมอบแพ็กเกจการสนับสนุนแก่ยูเครนอีกล่าสุดมีรายงานว่า ประธานาธิบดีเซเลนสกีมีกำหนดเยือนสหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์หน้า
เซเลนสกีเตรียมเยือนสหรัฐฯ คาดร่วมประชุม UN และพบไบเดน
วันนี้สื่อตะวันตกหลายแห่งรายงานตรงกันว่า ประธานาธิบดียูเครนมีกำหนดเยือนสหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์หน้า โดยประธานาธิบดีเซเลนสกีจะไปปรากฏตัวในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก ซึ่งกำลังจะเริ่มการประชุมประจำปีระหว่างผู้นำโลกจุดประสงค์คือ เพื่อโน้มน้าวจุดยืนของประเทศต่างๆ ที่ยังมีท่าทีต่อสงครามยูเครนไม่ชัดเจนนัก
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีเซเลนสกียังมีกำหนดการหารือร่วมกับประธานาธิบดีไบเดนและมีกำหนดการเยือนรัฐสภาสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน สื่อต่างๆ คาดการณ์ว่าการไปเยือนจะตรงกับช่วงที่สภาคองเกรสมีวาระอภิปรายการอนุมัติความช่วยเหลือด้านต่างๆ ให้แก่ยูเครนเพิ่มเติมเป็นจำนวน สองหมื่นสี่พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อายัด 'สลากกินแบ่งรัฐบาล' งวด 16ก.ย. 66 จำนวน 90 เล่ม 9,000 ใบ
ย้อนดู “เงินเดือนข้าราชการ” หลัง ครม.สั่งการแบ่งจ่าย 2 รอบ/เดือน
วันขอเงินพระจันทร์ “อมาวสี” คืออะไร พร้อมแจกฤกษ์มงคลตลอดปี 2566