สร้างพุ่ง ทล.223 “สกลนคร-นาแก” ปิดจ๊อบปีหน้า
นายประสิทธิ์ สาขา ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงสกลนครที่1 กรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า สำนักก่อสร้างทางที่ 2 ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 223 ตอนสกลนคร-อ.นาแก ระหว่าง กม.26+250-กม.39+817 แล กม.50+981-กม.53+164 ในพื้นที่ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร และ อ.นาแก จ.นครพนม รวมระยะทาง 15.750 กมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. งบประมาณ 599,292,000บาท
ปัจจุบันมีความก้าวหน้าผลงาน 29.082% จากแผนงาน 18.835% เร็วกว่าแผน 10.247% อยู่ระหว่างก่อสร้างให้เป็นไปตามรูปแบบโครงการที่จะก่อสร้างถนนเป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษ 4 ช่องจราจร ไป-กลับ จากเดิมมี 2 ช่องจราจร ไป-กลับ ความกว้างช่องจราจรละ 3.50 ม. ไหล่ทางด้านในกว้าง 0.50 มคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.50 ม. แบ่งทิศทางการจราจรด้วยเกาะยก ผิวทางคอนกรีต รวมงานติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบนทางหลวง เพื่อให้แล้วเสร็จตามแผนต่อไป ซึ่งโครงการนี้เริ่มต้นสัญญาวันที่ 20 ส.ค.64 สิ้นสุดสัญญา 7 พ.ย.66 ใช้เวลาก่อสร้าง 810 วัน โดยมีบริษัทซอยล์ซัพพอร์ตติ้ง จำกัด เป็นผู้รับจ้าง
นายประสิทธิ์ กล่าวต่อว่าทล.223 ตอนสกลนคร-นาแก-ธาตุพนม มีระยะทาง 70 กม. แบ่งเป็นถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของแขวงฯ สกลนครที่ 1 ประมาณ 42 กม. ขณะนี้ได้ขยายเป็น 4 ช่องจราจรแล้ว 28 กม. และกำลังก่อสร้างโครงการดังกล่าวอีก 15.750 กม. เมื่อแล้วเสร็จจะทำให้ถนนดังกล่าวในพื้นที่แขวงฯ สกลนครที่ 1 ครบทั้งหมด42กม. ส่วนอีก28กม. อยู่ในพื้นที่ อ.นาแก และ อ.ธาตุพนม ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของแขวงทางหลวงนครพนม ตอนนี้เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรเป็นช่วงๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ย่านชุมชน ขณะเดียวกันยังมีบางช่วงเป็นถนน 2 ช่องจราจรอยู่ อนาคต ทล. จะขยายเป็น 4 ช่องจราจรให้ครบสมบูรณ์ทั้งโครงข่ายต่อไป
เส้นทางนี้ถือเป็นสายทางที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะด้านการสัญจรประชาชนเชื่อมระหว่างจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ได้แก่ จ.สกลนคร นครพนม มุกดาหารและ อุบลราชธานี ปัจจุบันปริมาณการจราจรอยู่ที่ 16,000 คันต่อวัน ถ้าขยายเป็น 4 ช่องจราจรทั้งหมด จะทำให้รองรับปริมาณจราจรเพิ่มขึ้น 20,000-30,000 คันต่อวัน
นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายทางหลวงอาเซียนไฮเวย์(Asian Highways)ในแนวตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมประเทศเวียดนาม-ลาว-ไทย-เมียนมา ให้มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย รวมทั้งแก้ไขปัญหาการจราจร ลดอุบัติเหตุ ช่วยลดต้นทุนทางด้านการคมนาคมขนส่ง ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน 3 จังหวัด คือ สกลนคร นครพนม และ มุกดาหารตลอดจนระหว่างประเทศในอนุภาคลุ่มน้ำโขง(GMS)อีกด้วย