บีเอ็มดับเบิลยู กับนิยามที่ต่างไปของรถอนาคต
และได้กลายเป็นอีกหนึ่งเวที ที่เหล่าผู้ผลิตรถยนต์ใช้ในการเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ โดยเฉพาะด้านดิจิทัล ที่นับวันยิ่งมีส่วนในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่มากยิ่งขึ้น โดยในปีนี้ทางบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ได้เลือกเวทีนี้ในการรถแนวคิดใหม่ บีเอ็มดับเบิลยู ไอ วิชั่น ดี (BMW i Vision DEE) ซึ่งมีความน่าสนใจในหลายๆ ด้านด้วยกัน
เริ่มต้นด้วยชื่อ “ไอ วิชั่น ดี” (i Vision DEE) คำว่าไอ วิชั่น นี้ เราได้เห็นบีเอ็มดับเบิลยูใช้มานานแล้ว ในกลุ่มรถแนวคิดที่ใช้พลังไฟฟ้าต่างๆ ส่วนคำว่า DEE นั้นย่อมาจาก Digital Emotion Experience หรือ “ประสบการณ์แห่งอารมณ์ดิจิทัล” หรือ จะแปลง่ายๆ ก็คือ รถคันนี้จะอัดแน่นไปด้วยความเป็นดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ
อะไรคือ ดิจิทัลสมบูรณ์แบบ? ดูเหมือนว่า บีเอ็มดับเบิลยูจะต้องการเป็นส่วนหนึ่งของโลกเสมือนจริง (Virtual World) ที่พร้อมจะมอบประสบการณ์ที่ทับซ้อนกับโลกจริง (Augmented Reality) คือสรุปให้ง่ายคงไปอีกที ก็คือพวกเขาตระหนักดีว่าคนรุ่นใหม่ใช้ชีวิตและมีตัวตนเสมือนในโลกดิจิทัลหรือ “มัลติเวิร์ส” (Multiverse) ทั้งในวิดีโอเกม และโซเชียลมีเดียอย่างแยกไม่ออก สะท้อนผ่านการฉายภาพอวาตาร์ (Avatar) ของคนขับออกไปให้คนภาพนอกเห็นแทนที่จะเห็นหน้าของคนขับ รวมไปถึงการใช้ผู้ช่วยในการเดินทางปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ในการตอบโต้กับผู้ใช้งานขณะขับรถ
บอกตรง ๆ สำหรับคนวัยกลางคนอย่างผู้เขียนแล้ว สารพัดสิ่งเรื่องความฝันดิจิทัล ที่พวกเขาพยายามจะขายฝัน เอาจริง ๆ ออกจะเลอะเทอะสำหรับคนเจนฯของผู้เขียน แต่สิ่งที่น่าสนใจกลับเป็นการที่บีเอ็มดับเบิลยู ได้พยายามที่จะนำเสนอ รูปทรงแบบใหม่ที่สะอาดตา ต่อเนื่องจากคันก่อนหน้านี้คือ ไอ วิชั่น เซอร์คูลาร์ (i Vision Circular) มาสุ่คันล่าสุด ไอ วิชั่น ดี นี้
รูปทรงของ ไอ วิชั่น ดี นี้ทางบีเอ็มดับเบิลยู มีการใช้คำว่า“นอย คลาสเซอร์” (Neue Klasse) หรือนิว คลาส หรือการระบุว่านี่คือรถของ “คนรุ่นใหม่” อันเป็นชื่อที่ บีเอ็มดับเบิลยู เคยใช้มาก่อนในอดีต เมื่อครั้งยุคทศวรรษที่ 60 กับการเปิดตัวรถขนาดกลางรุ่นใหม่ในเวลานั้นที่ใช้ไวยากรณ์การออกแบบใหม่หมดจด การใช้ชื่อนี้อีกครั้งนอกจากจะบอกว่านี่คือการปฏิวัติการออกแบบ รูปทรงของรถแนวคิดนี้เองก็ยังเรียบง่าย เหมือนกับที่เราสัมผัสได้จาก “นอย คลาสเซอร์” ในครั้งอดีตอีกด้วย
รูปทรงของ ไอ วิชั่น ดี เป็นเรขาคณิตเรียบง่ายสะอาดตา โดยด้านหน้านั้นจมูกทรงไตคู่ ถูกจับยืดออกจนสุดสองด้านของตัวถัง โดยไฟหน้านั้นได้ถูกจับแทรกเข้าไปด้านมุมซ้ายและขวาของตัวถัง ในขณะเดียวกันไฟท้ายก็ใช้รูปลักษณ์ล้อเลียนไปกับรูปทรงของไฟหน้านั่นเอง
โดยในงาน CES พวกเขายังได้นำเสนอ ไอ วิชั่น ดี ในรูปแบบของตัวถังที่ประกอบขึ้นจากแผงจอภาพที่สามารถเปลี่ยนสีได้ตามใจชอบ ซึ่งเอาจริง ๆ แล้วก็คงไม่ได้มีโอกาสนำไปใช้ แต่ก็แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวของตัวถังรถนั้นถูกสร้างขึ้นอย่างหมดจด และเกลี้ยงเกลา
ส่วนห้องโดยสารนั้นก็เป็นไปตามแนวทางของรถแนวคิด นั่นก็คือเรียบเกลี้ยงไร้ปุ่มใด ๆ พื้นผิวทั้งหมดถูกปกคลุมด้วยผ้าที่ถักทอขึ้นรูป ส่วนข้อมูลการขับขี่ รวมถึงอินโฟเทนเมนต์ ทั้งหมดถูกฉายขึ้นบนขอบด้านล่างของกระจกหน้า โดยในวิดีโออธิบายเรื่องรถคันนี้ของทางบีเอ็มดับเบิลยู ดูเหมือนว่าพวกเขาจะเน้นการควบคุมสั่งการทั้งหมดผ่านทางบทสนทนาด้วยคำพูดกับปัญญาประดิษฐ์ ดังนั้นใครเป็นคนไม่ชอบเจ๊าะแจ๊ะ คงหงุดหงิดกับรถที่พยายามพูดคุยกับเราพอตัวคำพูดจาก ทดลองใช้ สูตรสล็อต
หากตัดเรื่องดิจิทัล มัลติเวิร์ส ออกไป จะเป็นไปได้เพียงใดที่เราจะได้สัมผัสกับ บีเอ็มดับเบิลยู ในยุคต่อไปที่มีรูปทรงสะอาด และไม่ก้าวร้าว เหมือนรถแนวคิดคันนี้ เรียกได้ว่า น่าสนใจจริงๆ.คำพูดจาก เว็บสล็อตแท้
โดย : ภัทรกิติ์ โกมลกิติ